12.11.55

ความเข้าใจ และแนวร่วมมุมกลับ (ตอนที่ ๒)


ในราชอาณาจักรไทย ประชาชนอยู่ร่วมกันภายใต้พระบรมโพธิสมภารของบูรพมหากษัตริย์ไทย
อย่างร่มเย็นเป็นสุข การรับรู้ถึงกันทั่วทุกผืนแผ่นดิน ๗๗ จังหวัด ประชาชนชาวไทยไปมาหาสู่ดุจดั่งพี่น้องญาติมิตร ในยามใดที่ส่วนหนึ่งส่วนใดของราชอาณาจักรไทย ประสบทุกข์เข็น ไม่ว่าด้วยเรื่องอันใด เช่น ภัยธรรมชาติ ภัยจากสงครามตามแนวชายแดน ภัยจากโรคระบาด เมื่อนั้นปวงประชาชน ทุกคน ทุกหมู่เหล่า จักประจักษ์ถึงน้ำพระทัยจากพระมหากษัตริย์ไทย และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ที่น้อมพระทัยเข้าช่วยเหลือพสกนิกรของพระองค์โดยทันที และขณะเดียวกันประชาชนชาวไทยทั่วทุกสารทิศจะร่วมกันช่วยเหลืออย่างไม่มีที่ใดในโลกเสมอเหมือนประเทศไทย นั่นแสดงให้เห็นถึงความมีน้ำใจงดงาม และชอบช่วยเหลือผู้อื่นเมื่อตกทุกข์ได้ยาก นิสัยของคนไทยทุกคน เมื่อมองมายังสุดปลายด้ามขวานของราชอาณาจักรไทย สถานการณ์ความขัดแย้งในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ นับตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ ถึงปัจจุบัน ทำให้ประชาชนชาวไทยใน ๓ จังหวัด ได้รับความเดือดร้อนอันตรายต่อการดำรงชีวิต และ ความเสียหายของทรัพย์สิน ทั้งภาครัฐ และเอกชน แต่ผลความเดือดร้อนส่วนใหญ่เป็นประชาชนชาวไทยพุทธ – ไทยมุสลิม ที่ไม่มีอาวุธ และไม่ใช่คู่ขัดแย้งโดยตรง ของกลุ่มขบวนการที่ทำการต่อสู้กับราชอาณาจักรไทยซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้องค์กรภาคประชาสังคมทั้งใน และต่างประเทศ รวมทั้งองค์กรที่เกิดจากกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบไม่น้อยกว่า ๓๐๐ องค์กร เข้ามาเคลื่อนไหวเพื่อประโยชน์สาธารณะ แต่ก็มีบางองค์กรซ้ำเติมสร้างความเดือดร้อน ฉกฉวยโอกาสจากความทุกข์ยากของประชาชน ขณะเดียวกันเครือข่ายของกลุ่มขบวนการก็ได้ใช้โอกาสของความเป็นประเทศเสรีประชาธิปไตยของราชอาณาจักรไทย ความเป็นประเทศที่มีผู้คนจิตใจโอบอ้อมอารี กลุ่มขบวนการก่อเหตุรุนแรงจึงได้ตั้งองค์กร หรือมูลนิธิบังหน้าเพื่อรับเงินบริจาค เงินสนับสนุนจากในประเทศ และต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศโลกอาหรับ เช่น เงินบริจาคช่วยเหลือเด็กกำพร้าจากเหตุการณ์ เงินสนับสนุนการศึกษาในสถานศึกษาศาสนา เป็นต้น ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวเปิดทางให้กลุ่มขบวนการก่อเหตุรุนแรง เข้าตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ เพื่อสร้างความได้เปรียบ โจมตีการทำงานของรัฐ เพิ่มอำนาจการต่อรองกับราชอาณาจักรไทย และเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ 
     ในขณะเดียวกันก็มีการเคลื่อนไหว เพื่อเรียกร้องสันติให้กับพี่น้องประชาชนชาวมลายู ที่นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งเป็นประชาชนชาวไทยเชื้อสายมาลายูส่วนใหญ่ใน ๓ จังหวัดภาคใต้ โดยลืมนึกถึงจิตใจ ความรู้สึกและการเป็นผู้ถูกกระทำจากกลุ่มขบวนการผู้ก่อเหตุรุนแรง ต่อพี่น้องประชาชนชาวไทยพุทธ และชาวไทย เชื้อสายจีน ใน ๓ จังหวัดภาคใต้ รวมถึงการเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิต่างๆที่มีการสูญเสีย หรือเกิดการผิดพลาดจากผลการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐ ในสภาวะที่จำกัด และสภาพแวดล้อมที่กดดัน ที่เกิดกับประชาชนมุสลิม ที่นับถือศาสนาอิสลาม เพื่อเรียกร้อง และนำไปสู่การยกเลิกการใช้กฎหมายพิเศษ พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่ ๓ จังหวัดภาคใต้ ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวโดยกลุ่มนักศึกษาบางกลุ่มใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งรัฐเองก็ต้องยอมรับในสิทธิ เสรีภาพในการเคลื่อนไหว เรียกร้องใดๆก็ตาม โดยเสรีในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ไทยเป็นประมุข และเป็นที่ยอมรับได้ โดยไม่มีการใช้ความรุนแรง และต้องไม่มีการยั่วยุ ปลุกระดมให้มีการจับอาวุธมาต่อสู้กัน แต่ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้ฝ่ายรัฐที่ปฏิบัติงานด้านความมั่นคง ต้องมีสติ ใช้วิจารณญาณ หลักการสิทธิมนุษยชน ในการปฏิบัติอย่างระมัดระวัง ทั้งยังปฏิเสธไม่ได้ว่า การเคลื่อนไหวของกลุ่มนักศึกษา เป็นความยุ่งยาก ซับซ้อน ที่แทรกเข้ามาในมิติความมั่นคง ที่ทำให้ต้องปวดหัว ทำให้การแก้ไขปัญหาความสงบให้กับพี่น้องประชาชนชาวไทยเชื้อสายมลายู ที่ถูกกระทำให้เดือดร้อน จากกลุ่มขบวนการก่อเหตุรุนแรง เช่น โรงเรียนถูกเผา โต๊ะอิหม่ามถูกยิง เป็นต้น จนซับซ้อนขึ้นกว่าที่เป็นอยู่  โดยนักศึกษากลุ่มนี้ ได้ประกาศถึงการเป็นตัวแทนพี่น้องประชาชนมลายู ปาตานี โดยจะไม่สนใจ      ต่อความรู้สึก หรือผลเสียหายใดๆเลย ที่เกิดกับประชาชน แต่จะมุ่งเคลื่อนไหว เรียกร้อง และโจมตีรัฐ โดยเฉพาะทหารให้ออกจากพื้นที่ ให้มีการยกเลิกการใช้กฎหมายพิเศษ รวมถึงกล่าวโทษว่าทหารเป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้มีการก่อเหตุรุนแรง แต่ไม่เคยเรียกร้องให้กลุ่มขบวนการก่อเหตุรุนแรงหยุดก่อเหตุทำร้ายพี่น้องชาวไทย เชื้อสายมลายู หรือไทยพุทธ ไม่ว่าเด็กจนถึงคนแก่ ครู พระ ทั้งที่เกิดเหตุการณ์ซ้ำแล้วซ้ำอีก เช่น คนร้ายลอบวางระเบิด ๓๘ จุด เขตเทศบาลนครยะลา เมื่อ ๒๕ ต.ค. ๕๕ หรือ เหตุลอบวางระเบิด โรงแรมลีการ์เด้นหาดใหญ่ และ จังหวัดยะลา เป็นเหตุให้มีพี่น้องชาวไทยเชื้อสายมลายูเอง บาดเจ็บ และเสียชีวิต หลายราย เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม ๕๕ ที่ผ่านมา ความซับซ้อนของปัญหาเหล่านี้เอง และการก่อเหตุลงมือของกลุ่มขบวนการที่กระทำต่อพี่น้องประชาชนผู้บริสุทธิ์แบบต่อเนื่อง (Serial Crime) หรือองค์กรผิดกฎหมาย รวมถึงคดีที่มีความเชื่อมโยงกับธุรกิจผิดกฎหมาย(Oraganized Crime) เช่นขบวนการค้าของเถื่อน ค้าอาวุธ และยาเสพติด ด้วยเหตุนี้เองรัฐจึงมีความจำเป็น ในการใช้กฎหมายพิเศษ พระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อความรวดเร็วในการดำเนินการ หยุดยั้งเหตุ และปัจจัยการก่อเหตุ จากกลุ่มขบวนการที่มีการจัดตั้งเป็นขบวนการลับ ทำงานโดยใช้เวลาน้อยมีการช่วยเหลือการหลบหนีอย่างเป็นระบบ แต่ขณะเดียวกันการปฏิบัติจากการใช้กฎหมายพิเศษ โดยผู้มีอำนาจหน้าที่ ตามกฎหมายพิเศษ ต้องปฏิบัติด้วยความระมัดระวังบนพื้นฐานของการไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน และคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม กลุ่มนักศึกษาก็ยังคงมีความพยายามหยิบยกข้อผิดพลาดของรัฐในอดีตมาสร้างประเด็น จัดกิจกรรม เคลื่อนไหว เพื่อเรียกร้องให้หลายฝ่ายทั้งใน และนอกประเทศหันมามองกลุ่มตน และสนับสนุนการเคลื่อนไหว รวมถึงการให้กองทุนเพื่อเคลื่อนไหว จนมีบางคนได้ไปเที่ยวต่างประเทศมาแล้ว ซึ่งความชอบธรรมของการเคลื่อนไหวดังกล่าว เป็นการตอกย้ำความรู้สึกที่เจ็บปวดของพี่น้องประชาชน เช่น เหตุการณ์กรือเซะ, ตากใบ, มัสยิดอัลฟูรกอน บ.ไอปาแยร์, การตายของอิหม่ามยะผา, เหตุการณ์บ้านปุโล๊ะปูโย จ.ปัตตานี แม้กระทั่งนำเรื่องสิทธิสตรีที่ควรปกปิดมาเปิดเผยสร้างความชอบธรรมกับกลุ่มตน โดยไม่คำนึงถึงว่าเธอจะอยู่ในสังคมอย่างไร หลังจากการที่มีคลิปหลุดในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ทั้งที่มีการตกลงทำความเข้าใจกับญาติของผู้หญิง และฝ่ายชายแล้ว รวมถึงการเชิญตัวนักศึกษาบางคนเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับการก่อเหตุในพื้นที่ ตามอำนาจกฎหมายพิเศษ ทั้งที่ตามกฎหมายได้ระบุไว้แล้วว่าบุคคลนั้นไม่ได้เป็นผู้ต้องหา หรือผู้ต้องสงสัย แต่เป็นการขอความร่วมมือเพื่อความกระจ่างในข้อมูลตามเหตุการณ์ร้ายแรงที่เกิดขึ้น ซึ่งนี่เองเป็นประเด็นสำคัญที่กลุ่มนักศึกษาอ้างว่าถูกคุกคามสิทธิ ในปัญหาการก่อความรุนแรง ที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐต้องคอยระมัดระวังดูแล รับผิดชอบความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินพี่น้องประชาชนผู้บริสุทธิ์ ควบคู่กับประเด็นที่องค์กรภาคประชาสังคม องค์กรสิทธิมนุษยชน และองค์กรนักศึกษา ที่เคลื่อนไหวกันอย่างเสรี บนความทุกข์ที่พี่น้องประชาชนได้รับจากการกระทำของขบวนการผู้ก่อเหตุรุนแรงทุกวัน และเป็นที่เข้าใจหรือเป็นที่เรียกในฝ่ายความมั่นคงว่าเป็น “แนวร่วมมุมกลับ” ให้ฝ่ายขบวนการก่อเหตุรุนแรง เป็นการเปิดทาง และโอกาสให้กลุ่มขบวนการแบ่งแยกดินแดน ได้แสวงหนทางโจมตีฝ่ายรัฐได้อย่างเสรี เพื่อเป้าหมายสุดท้ายคือการแบ่งแยกดินแดน และเข้าปกครองประชาชนด้วยระบอบรัฐจักรวรรดินิยมอิสลาม “แนวร่วมมุมกลับ”ในนิยามของหลายบุคคลที่ทำงานด้านความมั่นคง อาจมีความหมายแตกต่างกันไป แต่เป็นที่เข้าใจได้ว่า ในพื้นที่ ๓ จังหวัดภาคใต้ คือบุคคล กลุ่มบุคคล ที่ไม่ได้อยู่กับฝ่ายขบวนการก่อเหตุรุนแรง แบ่งแยกรัฐปาตานี และไม่ได้เป็นคู่ขัดแย้ง ต่อสู้กับฝ่ายรัฐบาล แต่มีความคิด ความรู้สึก ความไม่เข้าใจที่ไม่ตรงกัน ฐานข้อมูลที่รับรู้ไม่เหมือนกัน จนถึงการสื่อสารที่ไม่ตรงกัน จนก่อให้เกิดความคิดเห็นต่างที่ บุคคล กลุ่มบุคคล องค์ต่างๆ แสดงออกเคลื่อนไหว อย่างเสรี บนพื้นฐานเพื่อสันติภาพ ความเสมอภาค และสันติสุขสู่พี่น้องประชาชนชาวไทย เชื้อสายมลายูมุสลิม แต่กลับเป็นผลให้ขบวนการปฏิวัติแบ่งแยกดินแดน ได้รับประโยชน์ในการทำสงครามประชาชน สร้างสถานการณ์ให้โอกาสกลุ่มขบวนการได้เข่นฆ่าประชาชนผู้บริสุทธิ์ เพื่อลดความชอบธรรมของรัฐ ในราชอาณาจักรไทย สร้างความซับซ้อนในการแก้ไขปัญหาให้กับ ๓ จังหวัดภาคใต้ ของประเทศไทยของฝ่ายความมั่นคงยุ่งยากซับซ้อนขึ้น โดยบุคคล กลุ่มบุคคล องค์กร เหล่านี้ไม่รู้ตัว หรือหลงลืมไปว่าผู้ที่ได้รับความทุกข์ยากอย่างแสนสาหัส จากการกระทำของกลุ่มขบวนการแบ่งแยกดินแดน แท้จริงนั่นคือ ประชาชน
ดังนั้น พวกเราจึงขอเชิญชวนให้คณะนักศึกษาที่เราทราบว่า โดยแท้จริงท่านนั้นมีความจริงใจ มีความมุ่งหวังที่อยากมาช่วยแก้ไขปัญหาให้พื้นที่ชายแดนภาคใต้ของเรา ได้เกิดความสุขสงบ จบสิ้นซึ่งความโหดร้าย อยุติธรรม เกิดปัญหาเด็กกำพร้า มีผู้บาดเจ็บ พิการ ปัญหาสิ่งเสพติดไม่มี พวกเราขอขอบคุณในความปรารถนาและหวังดีของท่าน แต่เราเพียงแต่อยากให้ท่านได้แยกแยะว่าสิ่งใดที่กระทำการเรียกร้อง เพื่อความสุขสงบต่อประชาชนอย่างแท้จริง ขอให้ท่านได้กระทำต่อไป โดยพวกเราขอส่งเสริม แต่หากสิ่งใดที่กระทำแล้วกลับเป็นการส่งเสริมให้พวกก่อเหตุ เข้าใจว่าเป็นความถูกต้อง ถูกทำนองครองธรรมแล้วก็หันกลับไปทำร้ายประชาชน เจ้าหน้าที่ในรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงพวกค้ายาเสพติด มีช่องทางค้าขายยาแก่พี่น้องของเราอย่างไม่กลัวโทษทัณฑ์เพราะเจ้าหน้าที่มั่วยุ่งเหยิงอยู่กับพวกวางระเบิด ทำร้ายผู้คน พวกเราว่าท่านอย่าได้กระทำเลย แต่ในทางตรงกันข้ามหันกลับมาเรียกร้องให้พวกก่อเหตุหยุดการกระทำ ผู้ค้ายาหยุดการค้ายา เช่นนั้นไม่ดีกว่าหรือ?

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น